ทฤษฎีนี้...มาจากนักวิทยาศาสตร์ 2 คนหลักๆ คือ ชโรดิงเงอร์ กับไฮเซนเบิร์ก
สรุปง่ายๆ คือ...อิเล็กตรอนตัวเล็กมาก เคลื่อนที่เร็วมาก เราจึงบอกตำแหน่งที่แน่นอนของอิเล็กตรอนไม่ได้ จะบอกได้ก็แต่ บริเวณที่มีโอกาสพบอิเล็กตรอนเท่านั้น ซึ่งบริเวณนั้นเราเรียกว่า Orbital
Orbital ก็คือ ที่ว่าง.... ที่อิเล็กตรอนโคจรอยู่นั่นเอง = ลักษณะวงโคจรของอิเล็กตรอนรอบๆ นิวเคลียส
โดยมี 4 แบบ ที่ใช้กันได้แก่ s p d f ออร์บิทัล ตามภาพเลยนะ
s orbital จะเป็นรูปทรงกลม มีทั้งหมด 1 ออร์บิทัล จึงบรรจุอิเล็กตรอนได้ 2 e-
(Note!!! 1orbital บรรจุอิเล็กตรอนได้ 2 e-)
p orbital เป็นรูปดัมเบล มีทั้งหมด 3 ออร์บิทัล จึงบรรจุ e- ได้ 6 e-
d orbital มีทั้งหมด 5 ออร์บิทัล จึงบรรจุอิเล็กตรอนได้ 10e-
อันนี้น่าสนใจค่ะ....เพราะข้อสอบ PAT เคยออก...ถามถึงลักษณะของ d z2 มาแล้ว
ถ้ารูปไม่ชัด คลิกที่รูป แล้วรูปจะใหญ่ขึ้นนะคะ
f orbital (สุดท้ายที่เราจะเรียนแล้ว)
ตัวนี้มีทั้งหมด 7 ออร์บิทัล จึงบรรจุอิเล็กตรอนได้ 14 e- นะคะ
แต่ละออร์บิทัลจะซ้อนทับกัน ตัวอย่างเช่น d orbital ตามรูปด้านล่างนะคะ
พอรวมๆ กัน เราก็จะเห็นอิเล็กตรอนเป็นกลุ่มหมอกนั่นเอง
มาดูภาพรวมกันก่อนว่าแต่ระดับพลังงานมันมีออร์บิทัล หรือระดับพลังงานย่อยอะไรกันบ้าง
แต่ละออร์บิทัลจะมีพลังงานไม่เท่ากัน และบรรจุอิเล็กตรอนได้ไม่เท่ากัน.
" สัญลักษณ์ที่ใช้ในการจัดเรียงอิเล็กตรอน
การจัดเรียงอิเล็กตรอนเขียนแทนด้วยแผนภาพออร์บิทัล เช่น ธาตุ He มี 2 อิเล็กตรอน เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ 1s2 อ่านว่า หนึ่งเอสสอง
ซึ่งการจัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานย่อยต้องอาศัยหลักการดังนี้
1. หลักการกีดกันของเพาลี
เช่น ถ้ามีอิเล็กตรอนบรรจุอยู่ใน 2s ออร์บิทัล จำนวน 2 ตัว จะมีอิเล็กตรอนสปินขึ้นหนึ่ง และสปินลงหนึ่ง
ดังนี้ 
2. กฏของฮุนด์ "ในออร์บิทัลที่มีระดับพลังงานเท่ากัน ให้บรรจุอิเล็กตรอนเรียงเดี่ยวให้เต็มก่อน แล้วจึงบรรจุอิเล็กตรอนคู่ ตามหลักกีดกันของเพาลี"
3. หลักของเอาฟ์บาว "จัดเรียงอิเล็กตรอนจากระดับพลังงานต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดในระดับพลังงานที่สุูงขึ้น" ตามแผนภาพ
(มีต่อค่ะ...)